รัฐสภาไทย

รัฐสภาไทย

รัฐสภาไทย

ทำเนียบประธานรัฐสภา

๑. เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร ๒๘ มิถุนายน - ๑ กันยายน ๒๔๗๕ ๑๕ ธันวาคม - ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๖




ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน
1. การรับทราบคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี          - คณะรัฐมนตรีต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาและชี้แจงการดำเนินการตามแนวโนบายพื้นฐานแห่งรัฐ
          - การจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อกำหนดแนวทางการปฏิบัติราชการแต่ละปี (มาตรา 176)
2. การตั้งกระทู้ถาม
          ให้เป็นหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่จะต้องเข้าร่วมประชุมสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาเพื่อชี้แจงหรือตอบกระทู้ถามในเรื่องนั้นด้วยตนเอง เว้นแต่มีเหตุจำเป็น (มาตรา 162 วรรคหนึ่ง)
3. การเปิดอภิปรายทั่วไป
         
3.1 การเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติ
                    (1) การเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภากรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นสมควรจะฟังความคิดเห็นของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาในกรณีที่มีปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน (มาตรา 179)
                    (2) สมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา มีสิทธิเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภา เพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริงหรือชี้แจงปัญหาสำคัญ (มาตรา 161 วรรคหนึ่ง)
          3.2 การเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล
                    (1) การเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี
                          สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถเปิดอภิปรายนายกรัฐมนตีร โดยใช้เสียง 1/5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (มาตรา 158 วรรคหนึ่ง)
                    (2) การเสนอญัตติของเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล
                          สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถเปิดอภิปรายรัฐมนตรี โดยใช้เสียง 1/6 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (มาตรา 159 วรรคหนึ่ง)
                    นอกจากนี้ เมื่อบริหารราชการแผ่นดินครบ 2 ปี ในกรณีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนเสียงไม่ถึงเกณฑ์ก็สามารถเปิดอภิปรายได้โดยง่าย (มาตรา 160)

4. การตั้งคณะกรรมาธิการ
         
4.1 ประเภทของคณะกรรมาธิการ
                    (1) คณะกรรมาธิการสามัญประจำสภา
                    (2) คณะกรรมาธิการวิสามัญ
                    (3) คณะกรรมาธิการร่วมกัน
                    (4) คณะกรรมาธิการเต็มสภา
                    (5) คณะกรรมาธิการร่วมกันของรัฐสภา
                    (6) คณะกรรมาธิการตามมาตรา 121 ของรัฐธรรมนูญ
          4.2 อำนาจของคณะกรรมาธิการในการออกคำสั่งเรียกเอกสารจากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทำหรือ
ในเรื่องที่พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาอยู่นั้นได้ (มาตรา 135 วรรคสอง)
<><>

การถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง
1. ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่อาจถูกถอดถอนได้
              ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด หรืออัยการสูงสุด
              1) มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ
              2) ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่
              3) ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
              4) สอ่ว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม
              5) ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย
              6) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง
              วุฒิสภามีอำนาจถอดถอนผู้นั้นออกจากตำแหน่งได้ (มาตรา 270 วรรคหนึ่ง)
2. ผู้มีสิทธิเสนอเรื่อง              1) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร (มาตรา 271 วรรคหนึ่ง)
              2) สมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภาเพื่อให้วุฒิสภาถอดถอนสมาชิกวุฒิสภาออกจากตำแหน่งได้ (มาตรา 271 วรรคสอง)
              3) ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 20,000 คน (มาตรา 164)

การให้ความเห็นชอบและการพิจารณาเลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่งในองค์กรต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ
1. อำนาจหน้าที่ของวุฒิสภาในการให้ความเห็นชอบและการพิจารณาเลือกบุคคล
         1.1 อำนาจหน้าที่ในการให้ความเห็นชอบบุคคล
                  (1) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (มาตรา 206 (2))
                  (2) กรรมการการเลือกตั้ง (มาตรา 231 (4) และ (5))
                  (3) ผู้ตรวจการแผ่นดิน (มาตรา 243)
                  (4) กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (มาตรา 246 วรรคสาม)
                  (5) กรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (มาตรา 252 วรรคสาม)
                  (6) กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (มาตรา 256 วรรคห้า)
                  (7) เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (มาตรา 251 วรรคสอง)
                  (8) อัยการสูงสุด (มาตรา 255 วรรคสาม)
         1.2 อำนาจหน้าที่ในการพิจารณาเลือกบุคคล
                  (1) กรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 คน (มาตรา 221 (3))
                  (2) กรรมการตุลาการศาลปกครองผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 คน (มาตรา 226 (3))
2. การแต่งตั้งคณะกรรมาธิการตรวจสอบประวติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมบุคคของวุฒิสภา (มาตรา 121)
รัฐสภาแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นสถาบันที่พระมหากษัตริย์ไทยพระราชทานอำนาจให้เป็นผู้ออกกฎหมายสำหรับการปกครองและการบริหารประเทศ ซึ่งเรียกว่า อำนาจนิติบัญญัติ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันบัญญัติให้รัฐสภา ประกอบด้วย วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะประชุมร่วมกัน หรือแยกกัน ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ โดยมีประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา เป็นรองประธานรัฐสภา โดยตำแหน่ง

๒. เจ้าพระยาพิชัยญาติ

ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร ๒ กันยายน ๒๔๗๕ - ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๖

๓.พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (พลเรือตรี กระแส ประวาหะนาวิน)ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๖ - ๒๒ กันยายน ๒๔๗๗ ๖ กรกฏาคม ๒๔๘๖ -๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๗ ประธานรัฐสภา และประธานพฤฒสภา ๓๑ สิงหาคม ๒๔๘๙ - ๙ พฤษภาคม ๒๔๙๐ ๑๕ พฤษภาคม ๒๔๙๐ - ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐

๔. เจ้าพระยาศรีธรรมมาธิเบศ (จิต ณ สงขลา)

ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร ๒๒ กันยายน ๒๔๗๗ - ๑๕ ธันวาคม ๒๔๗๗ ๑๗ ธันวาคม ๒๔๗๗ - ๓๑ กรกฏาคม ๒๔๗๘ ๗ สิงหาคม ๒๔๗๘ - ๓๑ กรกฏาคม ๒๔๗๙ ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ - ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๑ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๑ - ๑๔ มิถุนายน ๒๔๙๒ ๑๕ มิถุยายน ๒๔๙๒ - ๒๐ พศจิกายน ๒๔๙๓ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๔๙๓ - ๒๙ พฤศจิกายน ๒๔๙๔

๕.พระยามานวราชเสวี (วิเชียร ณ สงขลา)

ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร ๓ สิงหาคม ๒๔๗๙ - ๑๐ ธันวาคม ๒๔๘๐ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๘๐ -๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๑ ๒๘ มิถุยายน ๒๔๘๑ - ๑๐ ธันวามคม ๒๔๘๑ ๑๒ ธันวาคม ๒๔๘๑ - ๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๒ ๒๘ มิถุนายน ๒๔๘๒ - ๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๓ ๑ กรกฏาคม ๒๔๘๓ - ๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๔ ๑ กรกฏาคม ๒๔๘๔ - ๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๕ ๓๐ มิถุนายน ๒๔๘๕ - ๒๔ มิถุนายน ๒๕๘๖ ๒ กรกฏาคม ๒๔๘๗ - ๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๘ ๒๙ มิถุนายน ๒๔๘๘ - ๑๕ ตุลาคม ๒๔๘๘ ๒๖ มกราคม ๒๔๘๙ - ๙ พฤษภาคม ๒๔๘๙

๖. พันตรีวิลาศ โอสถานนท์

ประธานรัฐสภา และประธานพฤฒสภา ๔ มิถุนายน ๒๔๘๙ - ๒๔ สิงหาคม ๒๔๘๙

๗.พลเอก พระประจนปัจนึก (พุก มหาดิลก)

ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร ๑ ธันวาคม ๒๔๙๔ - ๑๗ มีนาคม ๒๔๙๕ ๒๒ มีนาคม ๒๔๙๕ - ๒๓ มิถุนายน ๒๔๙๕ ๒๘ มิถุนายน ๒๔๙๕ -๒๓ มิถุนายน ๒๔๙๖ ๒ กรกฏาคม ๒๔๙๖ - ๒๓ มิถุนายน ๒๔๙๗ ๒๙ มิถุนายน ๒๔๙๗ - ๒๓ มิถุนายน ๒๔๙๘ ๒ กรกกาคม ๒๔๙๘ - ๒๓ มิถุนายน ๒๔๙๙ ๓๐ มิถุนายน ๒๔๙๙ - ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๐ ๑๖ มีนาคม ๒๕๐๐ - ๒๓ มิถุนายน ๒๕๐๐ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๐๐ - ๑๖ กันยายน ๒๕๐๐ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๐๐ - ๒๓ มิถุนายน ๒๕๐๑ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๐๑ - ๒๐ ตุลาคม ๒๕๐๑

๘.พลเอก หลวงสุทธิสารรณกร (สุทธิ์ สุทธิสารรณกร)

ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร ๒๐ กันยายน ๒๕๐๐ - ๑๔ ธันวาคม ๒๕๐๐ ประธานรัฐสภา ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๒ - ๑๗ เมษายน ๒๕๑๑

๙. นายทวี บุญยเกตู

ประธานรัฐสภา และประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ๘ พฤษภาคม๒๕๑๑ -๒๐ มิถุนายน ๒๕๑๑

๑๐.พันเอก นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์)

ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา ๒๒ กรกฏาคม ๒๕๑๑ - ๖ กรกฏาคม ๒๕๑๔ ๗ กรกฏาคม ๒๕๑๔ - ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๔

๑๑.พลตรีศิริ สิริโยธิน

ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ๑๘ ธันวามคม ๒๕๑๕ - ๑๑ ธันวาคม ๒๕๑๖

๑๒.พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช

ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๑๖ -๗ ตุลาคม ๒๕๑๗

๑๓.นายประภาศน์ อวยชัย

ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๑๗ - ๒๕ มกราคม ๒๕๑๘

๑๔.นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์

ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๘ -๑๒ มกราคม ๒๕๑๙

๑๕.นายอุทัย พิมพ์ใจชน

ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร ๑๙ เมษายน ๒๕๑๙ - ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔ - ๕ มกราคม ๒๕๔๘

<><>

๑๖.พลอากาศเอก กมล เดชะตุงคะ

ประธานที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่ประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดินและประธานรัฐสภา ๒๒ ตุลาคม ๒๕๑๙ - ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๑๙

๑๗.พลอากาศเอก หะริน หุงสกุล

ประธานรัฐสภา และประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๑๙ - ๒๐ ตุลาคม ๒๕๒๐ ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๒๐ - ๒๒ เมษายน ๒๕๒๒ ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา ๙ พฤษภาคม ๒๕๒๒ - ๑๙ มีนาคม ๒๕๒๖

๑๘.นายจารุบุตร เรืองสุวรรณ

ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา ๒๖ เมษายน ๒๕๒๖ - ๑๙ มีนาคม ๒๕๒๗

๑๙.ศาสตราจารย์อุกฤษ มงคลนาวิน

ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา ๓๐ เมษายน ๒๕๒๗ - ๓๐ เมษายน ๒๕๒๘ ๑ พฤษภาคม ๒๕๒๘ - ๒๓ เมษายน ๒๕๓๐ ๒๔ เมษายน ๒๕๓๐ - ๒๒ เมษายน ๒๕๓๒ ๓ เมษายน ๒๓๓๕ - ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๓๕ ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ๒ เมษายน ๒๕๓๔ - ๒๑ มีนาคม ๒๕๓๕

๒๐.ร้อยตำรวจตรี วรรณ ชันซื่อ

ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๒ - ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔

๒๑.นายมีชัย ฤชุพันธ์

ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา ๒๘ มิถุนายน ๒๕๓๕ - ๒๙ มิถุนายน ๒๕๓๕ ประธานวุฒิสภา ๒๘ มิถุนายน ๒๕๓๕ - ๒๑ มีนาคม ๒๕๓๙ ๖ เมษายน ๒๕๓๙ - ๒๑ มีนาคม ๒๕๔๓

๒๒.ศาสตราจารย์มารุต บุนนาค

ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร ๒๒ กันยายน ๒๕๓๕ - ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๓๘

๒๓.นายบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ

ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร ๑๑ กรกฏาคม ๒๕๓๘ ๒๗ กันยายน ๒๕๓๘

๒๔.นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา

ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๙ - ๒๗ มิถุนายน ๒๕๔๓

๒๕.นายพิชัย รัตตกุล

ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๓ - ๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๓

๒๖.นายโภคิน พลกุล

ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฏร ๘ มีนาคม ๒๕๔๘ - ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙

๒๗.นายยงยุทธ ติยะไพรัช

ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฏร ๒๓ มกราคม ๒๕๕๑ - เมษายน ๒๕๕๑

๒๘. นายชัย ชิดชอบ

ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฏร ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๑ - ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔