องค์กรมรดกโลก

องค์กรมรดกโลก

องค์กรมรดกโลก
มรดกโลก World Heritage Site คืออะไร
 
มรดกโลก (ภาษาอังกฤษ: World Heritage Site ภาษาฝรั่งเศส: Patrimoine Mondial) คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ ภูเขา ทะเลสาบ ทะเลทราย อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต

การแบ่งประเภทของมรดกโลก

              มรดกโลกแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ มรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage) และ มรดกทางธรรมชาติ (Natural Heritage) ซึ่งในอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกได้ให้คำนิยามไว้ว่า
             มรดกทางวัฒนธรรม หมายถึง สถานที่ซึ่งเป็นโบราณสถานไม่ว่าจะเป็นงานด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม หรือแหล่งโบราณคดีทางธรรมชาติ เช่น ถ้ำ หรือกลุ่มสถานที่ก่อสร้างยกหรือเชื่อมต่อกันอันมีความเป็นเอกลักษณ์ หรือแหล่งสถานที่สำคัญอันอาจเป็นผลงานฝีมือมนุษย์หรือเป็นผลงานร่วมกันระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์ รวมทั้งพื้นที่ที่เป็นแหล่งโบราณคดี ซึ่งสถานที่เหล่านี้มีคุณค่าความล้ำเลิศทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ มนุษยวิทยา หรือวิทยาศาสตร์
             มรดกทางธรรมชาติ หมายถึง สภาพธรรมชาติที่มีลักษณะทางกายภาพและชีวภาพอันมีคุณค่าเด่นชัดในด้านความล้ำเลิศทางวิทยาศาสตร์ หรือเป็นสถานที่ซึ่งมีสภาพทางธรณีวิทยาและภูมิประเทศที่ได้รับการวิเคราะห์แล้วว่าเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของพันธุ์พืชและสัตว์ ซึ่งถูกคุกคาม หรือเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของพืชหรือสัตว์ที่หายาก เป็นต้น



ขั้นตอนการสมัครเป็นสมาชิกมรดกโลก

ประเทศที่ต้องการเสนอชื่อสถานที่ในประเทศของตนให้ได้รับการพิจารณาให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก อันดับแรกจะต้องจัดทำบัญชีรายชื่อสถานที่ที่มีความสำคัญทางธรรมชาติและวัฒนธรรมทั้งหมดภายในประเทศของตน บัญชีนี้จะเรียกว่า บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะมีเพียงสถานที่ที่มีชื่ออยู่ในบัญชีนี้เท่านั้นที่จะมีสิทธิได้รับการเสนอชื่อ ขั้นต่อมา ประเทศนั้นๆจะต้องเลือกรายชื่อสถานที่ที่ต้องการเสนอชื่อมาจากบัญชีรายชื่อเบื้องต้น เพื่อจัดทำเป็นแฟ้มข้อมูล (Nomination File) โดยทางศูนย์มรดกโลกอาจให้คำแนะนำและช่วยเหลือในการจัดทำแฟ้มข้อมูลนี้
เมื่อถึงขั้นตอนนี้ แฟ้มข้อมูลจะถูกตรวจสอบและพิจารณาจากองค์กร 2 แห่ง ได้แก่ สภานานาชาติว่าด้วยการดูแลอนุสรณ์สถานและแหล่งโบราณคดี (International Council on Monuments and Sites) และ สหภาพสากลเพื่อการอนุรักษ์  (World Conservation Union) แล้วทั้งสององค์กรนี้จะยื่นข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการมรดกโลก ทางคณะกรรมการจะมีการประชุมร่วมกันปีละหนึ่งครั้ง เพื่อตัดสินว่าสถานที่ที่มีการเสนอชื่อแห่งใดบ้างที่ควรได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก หรือทางคณะกรรมการอาจร้องขอให้ประเทศที่เสนอชื่อได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่เพิ่มเติม โดยการพิจารณาว่าจะขึ้นทะเบียนสถานที่แห่งใดจะต้องมีลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ

หลักเกณฑ์ทางวัฒนธรรม


     - เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์
     - เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
     - เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
     - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
     - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของวัฒนธรรมมนุษย์ ขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งสถาปัตยกรรม วิธีการก่อสร้าง หรือการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งเสื่อมสลายได้ง่ายจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมตามกาลเวลา
     - มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์

    หลักเกณฑ์ทางธรรมชาติ


      - เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของการเป็นตัวแทนในวิวัฒนาการสำคัญต่างๆในอดีตของโลก เช่น ยุคสัตว์เลื้อยคลาน ยุคน้ำแข็ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาความหลากหลายทางธรรมชาติบนพื้นโลก
       - เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดในการเป็นตัวแทนของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางธรณีวิทยาหรือวิวัฒนาการทางชีววิทยา และปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่กำลังเกิดอยู่ เช่น ภูเขาไฟ เกษตรกรรมขั้นบันได
       - เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา
      - เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะอันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความอุดมสมบูรณ์ของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ความสนใจด้วย


      มรดกโลกที่ขึ้นบัญชีเอาไว้ในขณะนี้้


       เว็บไซต์ทางการยูเนสโก ระบุผลการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 35 กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ได้ประกาศขึ้นทะเบียนมรดกโลก ปี 2554 ซึ่งเป็นแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ และแบบผสม จำนวน 25 แห่ง โดยแบ่งเป็น แหล่งทางวัฒนธรรม 21 แห่ง แหล่งทางธรรมชาติ แห่ง และแบบผสม แห่ง ทำให้ขณะนี้มีแหล่งมรดกโลกที่มีการขึ้นทะเบียนแล้วทั้งหมด 936 แห่ง เป็นวัฒนธรรม725 แห่ง ธรรมชาติ 183 แห่ง แบบผสม 28 แห่ง


      มรดกไทยที่ขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลกแล้ว


      http://www.navy22.com/smf/index.php?topic=16638.0



      -อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย - ขึ้นทะเบียนเมื่อปี 2534 สาเหตุที่ได้รับ


         -เป็นตัวแทนซึ่งแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันฉลาด


         -เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว


      -อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ได้รับพร้อมกับ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย


      -อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ได้รับพร้อมกับ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย


      -เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง - ขึ้นทะเบียนเมื่อปี 2534 สาเหตุที่ได้รับ


         -เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดในการเป็นตัวแทนของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางธรณีวิทยาหรือวิวัฒนาการทางชีววิทยา และปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่กำลังเกิดอยู่ เช่น ภูเขาไฟ เกษตรกรรมขั้นบันได


         -เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา


        -เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะอันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความหนาแน่นของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ความสนใจด้วย


      -ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ - ขึ้นทะเบียนเมื่อปี 2548 สาเหตุที่ได้รับ


        -เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ


      สาเหตุที่ประเทศไทยลาออกจากการเป็นภาคีสมาชิกมรดกโลก


      http://zaa.xq28.org/viewtopic.php?f=3&t=7566&p=191027




      สุวิทย์ คุณกิตติ ประกาศถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกมรดกโลก ชี้ยูเนสโกไม่ยอมฟังไทยดึงดันจะบรรจุวาระประชุมพิจารณาแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหารของกัมพูชาที่รุกล้ำอธิปไตยของไทย ยันคกก.มรดกโลกนำวาระเขาพระวิหารเข้าที่ประชุม จึงเป็นที่มาของการถอนตัวของไทยออกจากกรรมการและสมาชิกภาคีอนุสัญญา
      นายสุวิทย์ คุณกิตติ รักษาการ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหัวหน้า
      คณะผู้แทนการเจรจามรดกโลกฝ่ายไทยได้ยื่นจดหมายลาออกจากการเป็นภาคีคณะกรรมการมรดกโลกแล้ว หลัง ยูเนสโกไม่ยอมฟังไทย ดึงดันจะบรรจุวาระประชุมพิจารณาแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหารของกัมพูชา โดยการลาออกดังกล่าวของไทย ทำให้ชาติสมาชิกค่อนข้างตกใจ
      เพราะไทยเป็นประเทศแรกในโลกที่ลาออกจากคณะกรรมการนี้ โดยฝ่ายไทยเห็นว่า
      คณะกรรมการมรดกโลกไม่ฟังข้อทักท้วงของไทย ในการปรับแก้ข้อความและถ้อยคำในร่างมติการประชุมล่วงหน้าเกี่ยวกับแผนดังกล่าว ตามข้อเสนอของกัมพูชา ซึ่งอาจจะกระทบถึงอธิปไตยของไทยบนเขาพระวิหาร
      โดย หัวหน้าคณะฯไทย กล่าวว่า ไทยยอมรับไม่ได้เพราะว่ามันจะมีผลกระทบกับเรื่องของดินแดนและอำนาจอธิปไตยของไทย
      ทั้งนี้ นาย สุวิทย์ ได้กล่าวว่า สิ่งที่ยูเนสโกตัดสินใจนั้นถือว่า ขัดกับอนุสัญญาของยูเนสโกเอง โดยบอกว่าบอกการกระทำที่เกิดขึ้นของยูเนสโก จะทำให้เกิดการเผชิญหน้ากันอีกครั้งบริเวณพื้นที่พิพาท ทั้งนี้ นายสุวิทย์ ได้นำจดหมาย และแถลงให้ผู้สื่อข่าวฟัง ถึงการตัดสินใจ และรวมถึงบรรยากาศในห้องประชุม ยืนยันว่า เป็นการกระทำที่ได้ไตร่ตรอง รวมถึง ได้รับการอนุมัติจากนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีแล้ว
      โดยนายสุวิทย์ ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า ไทยได้ต่อสู้เรื่องนี้มาตลอด2-3ปี รู้สึกเสียใจที่คณะกรรมการมรดกโลกตัดสินใจ โดยบอกว่า คณะกรรมการส่วนใหญ่เป็นชาติยุโรป ซึ่งคณะกรรมการไม่เล็งเห็นความสำคัญเรื่องพรมแดน เพราะปัจจุบันยุโรปนั้นไร้พรมแดน เลยเห็นเรื่องวัตถุสิ่งของโบราณสถานสำคัญกว่า เนื่องจากคณะกรรมการมรดกโลกไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัติในอนุสัญญามรดกโลกมาตั้งแต่การประกาศขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกเมื่อ 3 ปีก่อน ทั้งที่กัมพูชากับไทยยังมีปัญหาเรื่องขอบเขตพื้นที่ทับซ้อน ซึ่งปัญหาดังกล่าวยังไม่มีความชัดเจนมาจนถึงปัจจุบัน แต่คณะกรรมการมรดกโลกกลับมีท่าทีที่จะยอมรับการเสนอแผนบริหารจัดการพื้นที่ของกัมพูชาที่เสนอเข้ามาในการประชุมปีนี้ ซึ่งเนื้อหาและแผนผังแนบท้ายระบุชัดเจนว่าจะมีการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างหลายอย่างในเขตแดนของไทย
      นายสุวิทย์ กล่าวว่า การถอนตัวดังกล่าวถือว่ามีผลทันที ซึ่งจากนี้ไปคณะกรรมการมรดกโลกจะพิจารณารับหรือไม่รับข้อเสนอใดๆ ของกัมพูชา ก็จะไม่มีข้อผูกพันใดๆ กับไทย และไม่สามารถรุกล้ำเข้ามาในดินแดนของไทยได้ การถอนตัวครั้งนี้ยังมีผลให้นางโสมสุดา ลียะวณิช อธิบดีกรมศิลปากร ซึ่งเป็น 1 ใน 21 คณะกรรมการมรดกโลก พ้นจากตำแหน่งไปด้วย

      ทั้งนี้ นาย สุวิทย์ ยังได้ทวิตข้อความผ่าน @Suwitkhunkitti ว่าการตัดสินใจครั้งนี้ เป็นไปเพื่อไม่ยอมให้ใครใช้ข้ออ้างในการรุกเข้ามาในพื้นที่ที่เป็นอธิปไตยของเรา ที่ประชุมบรรจุวาระ ตนไม่มีทางเลือกครับ ตนได้เคยพูดกับสื่อไทยไปว่า หากสังคมใดดำเนินการตามใจตนเอง ไม่คิดถึงกฏระเบียบที่ลงมติโดยสมาชิกแล้ว ก็ไม่มีประโยชน์ใดๆที่เราจะอยู่ในสังคมแบบนี้
      โดย นาย สุวิทย์ ได้อ่านรายงานการถอนตัวของไทยให้ที่ประชุมได้รับฟังแล้วด้วย